Tuesday, August 4, 2009

สำหรับ 10 ข้อที่ไม่ควรละเลยในเว็บไซต์ขนาดเล็ก

สำหรับ 10 ข้อที่ไม่ควรละเลยในเว็บไซต์ขนาดเล็ก มีดังนี้
1।วางแผนภาพรวมของเว็บไซต์ การวางตำแหน่งของเนื้อหา และเนวิเกชัน โดยอาจวาดรูปร่างคร่าวๆ ของเว็บไซต์ไว้ก่อนว่าจะจัดวางตำแหน่งอย่างไร ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของผู้พัฒนาเว็บไซต์เองจะได้ไม่เสียเวลาในภายหลังด้วย
2।แทรก Meta tags ในเว็บไซต์ของคุณ
อ่านบทความเกี่ยวกับ Mete tags คลิกที่นี่ 3।อย่าใส่ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวได้มากเกินไป ในหลายๆเว็บไซต์จะเห็นได้ว่ามีการใส่กราฟิกภาพเคลื่อนไหวได้จำนวนมาก ทั้งเป็น Flash หรือ gif เพื่อดึงดูดความสนใจ หรือเพื่อเน้นส่วนต่างๆในเว็บไซต์ แต่การใช้ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวมากเกินไป จะก่อนให้เกิดความสับสนต่อผู้ใช้งานได้ ดังนั้นเราจึงควรใช้แต่พอดีเน้นในส่วนที่ต้องการเน้นเท่านั้น บางเว็บไซต์อาจใช้งาน Javascript เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้กับเว็บไซต์ แต่ถ้าเราใช้งานมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความสับสน หรือเป็นอุปสรรคในการใช้งานของผู้เข้าชมได้ อีกข้อที่อยากจะเิตือนคือ flash , javascript หรือ animations ต่างๆั้นั้น search engine ไม่ได้ในไปรวมในฐานข้อมูลด้วย ดังนั้นข้อมูลที่เราแสดงผลด้วยเครื่องมือดังกล่าวนั้นก็จะไม่ถูก นำไปรวมในฐานข้อมูลของ search engine ด้วย จึงควรระวังในส่วนนี้ให้ดี 4।อย่าให้เว็บไซต์ของคุณ แสดงผลนานกว่า 8 วินาที หรือมีขนาดใหญ่กว่า 40 kb เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เคยพูดถึงหลายครั้งแล้ว แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่มักจะถูกละเลย ตามที่เราได้เคยกล่าวไปแล้วว่า ไม่มีใครอยากรอคอย ถ้าเว็บไซต์ของเราแสดงผลนาน ก็เป็นไปได้อย่างสูงว่าผู้ชมอาจปิดเว็บไซต์เราไปก็ได้ ไฟล์ flash , animation , เพลง , ภาพขนาดใหญ่เป็นตัวแปรสำคัญในเรื่องนี้ เราจึงควรลดการใช้งาน ซอยสิ่งเหล่าในให้ไปอยู่ในหน้าต่างๆ หรือลดขนาดลง และให้ผู้ชมเลือกเองว่าต้องการดูส่วนใด เราเพียงทำลิงค์ หรือภาพขนาดเล็กเพื่อลิงค์ไปหาภาพขยายใหญ่ไว้ให้ 5।ขนาดเว็บไซต์ของคุณ ขนาดเว็บไซต์มีผลอย่างยิ่งกับการแสดงผลในหน้าจอขนาดต่างๆ เราจึงควรกำหนดขนาดเว็บไซต์ไม่ให้เกิน 750px หรือ กำหนดการแสดงผลเป็น % เพื่อลดปัญหาเหล่านี้ 6।อย่าเชื่อใจ WYSIWYG HTML editors อย่างเชน Dreamweaver , Frontpage เพราะการแสดงผลเว็บเพจผ่านโปรแกรมพวกนี้ กับการแสดงผลผ่าน web browser ต่างๆอาจไม่เหมือนกัน เราจึงควรตรวจสอบก่อนทุกครั้ง และตรวจสอบด้วย browser อย่างน้อย 2 ชนิดที่ได้รับความนิยม คือ 1. Internet Explorer 2.Firefox 7.การเว้นช่องว่าง การเว้นช่องว่างระหว่างวัตถุ เช่นช่องว่างของตัวอักษรในตาราง ช่องไฟระหว่างตัวอักษรด้วยกันเอง เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก การเว้นช่องว่างระหว่าง ตัวอักษร จะทำให้เกิดความสาวงาม อ่านสบายตา การเว้นช่องว่างในตาราง ทำให้ตารางดูสวยงามขึ้น เราสามารถใช้ CSS ในการควบคุมสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดได้ และควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ 8.การใช้สีในเว็บเพจสีก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากในเว็บเพจ สีที่ต่างกันให้อารมณ์ต่างกัน เราจึงควรเลือกสีให้เหมาะกับเนื้อหา หรือกลุ่มผู้ชม ถ้าเลือกสีฉุดฉาดก็เหมาะกับกลุ่มเด็ก เลือกสีเข้มจะเหมาะกับกลุ่มผู้ใหญ่

อ่านเรื่องจิตวิทยาเกี่ยวกับสีคลิกที่นี่ สำหรับในส่วนสีที่ใช้แสดงเนื้อหานั้น อย่าใช้สีตัวอักษรโทนดำ บนพื้นหลังสีดำ หรืออย่าใช้สีตัวอักษรโทนขาว ในพื้นหลังโทนขาว เพราะจะทำให้อ่านตัวอักษรได้ยาก สีที่เหมาะจะแสดงตัวอักษรดีสุดคือ ตัวอักษรสีดำ พื้นสีขาว สีเหลืองเหมาะสำหรับใช้เน้นข้อความสำคัญ 9.ระวังเรื่องหน้าต้อนรับหลายๆเว็บไซต์นิยมจะให้หน้าแรก เป็นหน้ากล่าวคำยินดีต้อนรับ หรือหน้าแจ้งข่าวสารต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็ก เพราะจะส่งผลต่อ เนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณใน Search Engine และอันดับที่ปรากฏใน Search Engine 10.Pop upไม่แนะนำให้ใช้ pop up เนื่องมาจากว่า browser ส่วนใหญ่ตอนนี้จะตัดไม่แสดงผล pop up อยู่แล้ว ทำให้ข้อมูลที่อยู่ใน pop up ก็ไม่แสดงผลไปด้วย และการใช้ pop up เหมือนกับการใช้เพื่อโฆษณาซะมากกว่า

25 ข้อที่ควรหลีกเลี่ยงในการทำเว็บไซต์

อย่างที่เราทราบกันอยู่แล้วว่าในโลกของอินเทอร์เนตนั้นมีเว็บไซต์มากมาย ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่มีคู่แข่งเช่น เว็บไซต์ขายของ แน่นอนว่าลูกค้าจะมีตัวเลือกมากมาย ดังนั้นการทำเว็บไซต์ที่ดีจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนี่งที่ทำให้คุณอยู่เหนือตัวเลือกอื่นๆ การทำเว็บไซต์ที่ดีนั้นจะเริ่มตัดสินกันตั้งแต่ การที่ผู้ใช้เห็นเว็บคุณเป็นครั้งแรก เราจะต้องสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้งาน เพื่อให้เค้ากลับมาใช้เว็บของเราอีกครั้ง แน่นอนว่าเรามีเวลาไม่มากในการสร้างความประทับใจให้ลูกค้า ถ้าจะวัดกันคร่าวๆก็น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 20 วินาที รวมเวลาการดาวน์โหลดเว็บเพจแล้ว จะเห็นว่าเวลานั้นน้อยมาก เนื่องมาจากว่าทุกวันนี้คนเราเริ่งรีบกันมากและมีตัวเลือกมากมายให้เลือก ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นคุณต้องการทำเว็บไซต์เพื่อขายของ ทุกวันนี้คุณมีคู่แข่งมากมาย และเว็บไซต์ของคุณอยู่ห่างจากเว็บไซต์ของคนอื่นแค่คลิกเดียวเท่านั้น

นี่คือข้อผิดพลาด 25 ข้อที่ควรหลีกเลี่ยงในการทำเว็บไซต์1। เว็บไซต์ของคุณแสดงผลได้ช้ามากๆ พูดง่ายๆก็คือเว็บของคุณโหลดได้ช้ามาก ผู้ใช้งานต้องเสียเวลาในการรอให้เว็บไซต์ของคุณแสดงผลนานมาก แน่นอนว่าเวลาในการแสดงผลของเว็บไซต์มีหลายปัจจัย เช่น ความสามารถของ web server , ความเร็วของอินเตอร์เนตของผู้ใช้งาน แต่ปัจจัยต่างๆนั้นเป็นแค่ปลายเหตุเท่านั้น ต้นเหตุที่เราสามารถควบคุมได้อยู่ที่ขนาดของเว็บเพจ ขนาดของเว็บเพจนั้นไม่ควรเกิน 60 KB ขนาดของเว็บเพจที่เพิ่มขึ้นมีเหตุมาจาก รูปภาพที่คุณใช้มีขนาดใหญ่เกินไป , การเปิดเพลงประกอบในเว็บไซต์ของคุณ (ทำให้ผู้ชมต้องเสียเวลาในการดาวน์โหลดเพลง แน่นอนว่าไฟล์เพลงเป็นไฟล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 60 KB อยู่แล้ว) , การใช้ไฟล์ flash ที่มีขนาดใหญ่เกินไป ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง 2।ไม่มีเนวิเกชัน เนวิเกชัน คือ ส่วนที่ใช้ลิงค์ไปยังหน้าต่างๆของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่นเมนูทางซ้ายมือของ hellomyweb।com จะเห็นว่ามีลิงค์ไปยังส่วนต่างๆของเว็บไซต์ เช่น ลองทำเว็บไซต์ แบบง่ายๆ , พื้นฐานเกี่ยวกับเว็บไซต์ เว็บไซต์ที่ดีควรมีเนวิเกชันในทุกหน้า เพราะในปัจจุบันเราทราบดีอยู่แล้วว่ากว่า 80% ของผู้ใช้งานรู้จักเว็บไซต์ของเราจาก search engine ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สามารถกำหนดได้ว่าให้ search engine แสดงหน้าใดให้ผู้ใช้งานดู ถ้า search engine แสดงผลในหน้าที่ไม่มีเนวิเกชัน อาจทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดได้ว่าเว็บไซต์ของคุณมีแค่หน้าที่แสดงผลเพียงหน้าเดียว การแสดงผลเนวิเกชันควรแสดงผลในตำแหน่งเดียวกัน เพราะถ้าเราเปลี่ยนตำแหน่งอาจทำให้ผู้ใช้งานสับสนได้ 3। การใช้สีสันที่แสบตา หลายคนคงเคยเห็นเว็บไซต์ที่ใช้สีพื้นหลังเป็นสีโทนสว่างมากๆเช่น สีส้ม สีเหลือง แล้วใช้ตัวอักษรในโทนสว่างอีกเช่นเดียวกันเช่น สีฟ้า ทำให้การอ่านเนื้อหาในเว็บเพจทำได้ยากมากๆ ถึงแม้จะทำให้เว็บไซต์ดูสวยงาม ก็ควรหลีกเลี่ยง การใช้พื้นหลังโทนมืด และตัวหนังสือโทนสว่าง เป็นตัวเลือกที่ดีในการทำเว็บไซต์ หรือพื้นหลังสีขาว ตัวหนังสือสีดำก็เป็นสิ่งที่นิยมใช้กันมาก 4. การสะกดคำผิด การสะกดคำผิดพลาด การเขียนผิด หรือการใช้ภาษาวิบัติ ก็ไม่ควรให้มีในเว็บไซต์ เพราะจะส่งผลให้เข้าใจผิดพลาดได้5. เนื้อหาในเว็บเพจ ผู้ใช้งานเว็บไซต์ส่วนใหญ่ไม่เคยอ่านเนื้อหาของเว็บไซต์อย่างจริงจัง หรือตั้งใจอ่านอย่างที่เราต้องการ ดังนั้นเราจึงควรทำให้เนื้อหาของเราอ่านได้ง่ายขึ้น เช่น ใช้การเว้นวรรค การใส่ย่อหน้า และการเขียนให้กระชับที่สุด เน้นส่วนของข้อความที่เราต้องการสื่อให้มากที่สุด 6. ขนาดของตัวอักษร และชนิดของตัวอักษร font ในบางครั้งการแสดงตัวอักษรที่เล็กเกินไป หรือใหญ่เกินไป ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของ browser ของผู้ใช้ ก็เป็นอุปสรรคในการอ่านเนื้อหาของเว็บไซต์ ข้อแนะนำคือเราควรใช้ CSS ในการควบคุมการแสดงผลตัวอักษรให้เป็นไปในทางเดียวกัน จะทำให้เว็บไซต์ของเราดูดี และอ่านได้ง่ายขึ้น7. การเว้นวรรค , การเว้นบรรทัด และการจัดช่องไฟของตัวอักษร เราสามารถใช้คำสั่ง CSS ในการจัดช่องไฟของตัวอักษรได้ การจัดช่องไฟให้ตัวอักษร การเว้นวรรคที่ดี และการเว้นบรรทัดของเนื้อหาที่ดี ก็ทำให้เว็บไซต์ของเราดูดีขึ้นได้มากทีเดียว 8. การใส่เพลงประกอบเว็บไซต์ โดยที่ผู้ใช้งานไม่สามารถปิดมันได้ ถ้าคุณมีความจำเป็นที่จะต้องใส่เพลงประกอบเว็บไซต์ของคุณ อาจเพื่อจูงใจลูกค้า คุณต้องแน่ใจว่าได้ทำปุ่มสำหรับปิดเพลงนั้นไว้ โดยที่ผู้ใช้งานสามารถปิดมันได้โดยง่าย และเห็นมันอย่างชัดเจน มิฉนั้นเพลงที่คุณใส่ไปอาจส่งผลทำให้ผู้ใช้งานเกิดความรู้สึกหงุดหงิดได้ 9.การทำเว็บไซต์โดยไม่ได้วางองค์ประกอบของหน้ามาก่อน องค์ประกอบของหน้ามีความสำคัญมาก ถ้าคุณไม่ได้วางองค์ประกอบของหน้ามาก่อนจะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น การใส่เนื้อหาในหน้ามากเกินไป คุณอาจเห็นหลายเว็บไซต์ที่ใช้พื้นที่ของหน้าแทบจะทุกจุดของเว็บเพจก็ว่าได้ อย่างที่เคยบอกไปว่าผู้ใช้งานไม่เคยตั้งใจอ่านเนื้อหาอย่างจริงจัง การใส่เนื้อหาที่มากไปจะทำให้คุณไม่สามารถสื่ออะไร หรือบอกอะไรได้เลย ดังนั้นจึงควรใส่เนื้อหาที่คุณอยากจะสื่อ และแบ่งสัดส่วนต่างๆให้เป็นกลุ่มเป็นก้อนเห็นได้ชัดเจน รูปแบบเว็บไซต์ในแต่ละหน้าก็มีความสำคัญมาก คุณไม่ควรเปลี่ยนรูปแบบของเว็บไซต์ในแต่ละหน้าให้แตกต่างกันมากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดได้ 10. การทำหน้าเว็บเพจที่ยาวเกินไป เนื้อหาที่ยาวจนเกินไปไม่ส่งผลดีต่อเว็บไซต์แน่นอน เพราะนอกจากจะทำให้การแสดงผลเว็บเพจนั้นช้าแล้ว ยังส่งผลผู้ใช้งานรู้สึกเบื่อด้วย ดังนั้นเราจึงควรแบ่งเนื้อหาเป็นตอนๆ และให้ผู้ใช้งานโหลดทีละตอนจะดีกว่า 11.การทำลิงค์ที่ผิดพลาด ลิงค์เป็นส่วนที่สำคัญมากของเว็บไซต์ เพราะจะเป็นส่วนที่นำเราไปยังส่วนอื่นๆของเว็บไซต์ เราจึงควรทำให้ส่วนที่เป็นลิงค์มีความชัดเจนในตัวเอง และถ้าไม่จำเป็นไม่ควรเปลี่ยนสีของลิงค์ 12. ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุง คำนี้ไม่ควรให้มีในเว็บเพจของคุณเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ใช้งานผิดหวังที่จะต้องรอหน้าที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงแล้ว ยังทำให้รู้สึกว่าเว็บไซต์ของคุณยังไม่สมบรูณ์ ยังไมได้มาตราฐาน 13. ไม่ตรวจสอบเว็บไซต์ก่อน การตรวจสอบเว็บไซต์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการแสดงผลใน browser กับการแสดงผลตอนที่เราเขียนเว็บเพจอาจไม่เหมือนกันก็ได้ ดังนั้นเราจึงควรตรวจสอบเว็บเพจทุกหน้า ถ้าจะให้ดีควรใช้หลายๆ browser ในการตรวจสอบ 14. เนวิเกชันที่ไม่สื่อความหมาย การใช้เนวิเกชันที่ไม่สือความหมาย เมื่อคลิกแล้วไม่สามารถเปิดหน้าที่ลิงค์ไว้ได้ มีข้อผิดพลาด (error) ในเนวิเกชัน และมีหลายปุ่มให้เลือกมากเกินไป จะส่งผลต่อผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก เนวิเกชันที่ดีควรมีการแบ่งหมวดหมู่ที่ดี ไม่ซับซ้อนจนเกินไป และควรครอบคลุมส่วนต่างๆของเว็บไซต์ หรือหน้าเว็บไซต์ใหญ่มาก ก็ควรครอบคลุมในหมวดนั้นๆ การใช้คำก็เป็นเรื่องสำคัญ ควรใช้คำที่สื่อความหมายชัดเจนไม่คลุมเครือ หรือเป็นคำที่เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มไม่ควรใช้ 15. ทำเว็บไซต์อย่างลวกๆ การทำเว็บไซต์อย่างลวกๆ เช่น คัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์อื่นมา แล้วมีการตกหล่น หรือไม่มีภาพแสดงเหมือนเว็บไซต์ต้นฉบับ การพิมพ์ผิด หรือการเขียนข้อความที่ไม่สื่อความหมาย การใช้ภาษาวิบัติ เนื้อหาของเว็บไซต์คือทุกอย่างของเว็บไซต์ เราจึงควรให้ความสำคัญกับเนื้อหาให้มากๆ อย่าให้เกิดข้อผิดพลาด หรือผิดพลาดให้น้อยที่สุด 16.ไม่เคยอัพเดทเว็บไซต์เลย การอัพเดทเว็บไซต์เป็นประจำก็ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความมั่นใจ ว่าเว็บไซต์ของเรายังมีผู้ดูแลอยู่ และเนื้อหายังได้รับการปรับปรุงอยู่ นอกจากนี้ยังส่งผลต่ออันดับใน search engine อีกด้วย 17. จำนวนคลิกเพื่อเข้าถึงข้อมูลมากเกินไป หลายๆเว็บไซต์จะเก็บเนื้อหาในส่วนที่คิดว่าดีเอาไว้ โดยผู้ใช้งานจะต้องผ่านการคลิกนับครั้งไม่ถ้วน ผ่านโฆษณามากมายกว่าจะมาถึงเนื้อหาที่สนใจได้ นับว่าเป็นสิ่งที่ผิดพลาดอย่างมาก อย่าที่บอกไปว่าเว็บของเราห่างจากเว็บอื่นเพียงคลิกเดียว ถ้าเราทำให้เกิดความลำบากยากเย็นในการเข้าถึงเนื้อหา หรือส่วนที่ผู้ใช้งานสนใจ ก็ทำให้ผู้ใช้งานท้อ หรือล้มเลิกความตั้งใจที่จะใช้งานต่อไปได้ จำนวนคลิกที่มากที่สุดที่คุณควรทำคือ ไม่เกิน 3 คลิก ที่จะทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงส่วนที่เค้าสนใจ 18. สร้างความมั่นใจในส่วนของความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ขายของ หรือทำธุระกิจต่างๆ ก็ควรสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าว่าพวกเค้าจะไม่โดนหลอก เช่น การจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ หรือไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆของลูกค้า 19. ไม่มีที่อยู่ หรือที่ติดต่อกลับ เว็บไซต์ทางธุระกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีส่วนของ ติดต่อเรา , contact information , ที่อยู่บริษัท , เบอร์โทรศัพท์ , email สิ่งพวกนี้เป็นสิ่งจำเป็นทั้งสิ้นที่จะต้องมีในเว็บ 20. การใช้ Free web hosting ถ้าคุณเป็นเว็บเกี่ยวกับธุระกิจแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องมีชื่อ domain name เป็นของตัวเอง และจะต้องมี web hosting เป็นของตัวเองไม่ว่าจะเช่า หรือจะซื้อมาเอง เราะจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าของคุณเป็นอย่างยิ่ง 21. การใช้ Free E-mail addresses ในปัจจุบันมี free email มากมายเช่น hotmail , gmail แต่พวกนี้เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ควรใช้ email ที่เป็นของคุณเอง มาจาก domain name ของคุณ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งกับความน่าเชื่อถือของ email ของคุณที่ส่งไปยังลูกค้า22. โฆษณาที่มีมากจนเกินไป โฆษณาเป็นรายได้หลักของเว็บไซต์บางประเภท แต่การที่เราใส่โฆษณามากเกินไปจะส่งผลต่อเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ เพราะจะทำให้ผู้ใช้สับสนระหว่าง เนื้อหาที่แท้จริงกับโฆษณาที่แทรกอยู่ 23. รูปภาพ รูปภาพก็เป็นส่วนสำคัญของเว็บไซต์เราจึงควรดูและส่วนนี้ให้ดี ไม่ควรให้เกิดการผิดพลาดในการแสดงรูปภาพ และควรบีบอัดไฟล์รูปให้ถูกต้องกับรูปแบบ

อ่านเรื่องนี้ได้ที่นี่ 24. เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีที่สุดในขนาด 1024 x 768 การกำหนดขนาดที่ใช้ในการแสดงผล หรือ browser ที่ใช้แสดงผลเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัจจุบันเรามีหน้าจอหลายรูปหลายขนาดมากมาย ตั้งแต่ 14 นิ้ว จนถึง 20 กว่านิ้ว ทั้งแบบ wide screen และแบบทั่วไป การกำหนดขนาดแสดงผลจึงไม่ควรทำ เราควรทำให้เว็บไซต์ของเราแสดงผลได้ถูกต้องทุกๆ แบบของหน้าจอ ทุกๆขนาด ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากเพราะเรามี CSS เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ได้มากทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องของ CSS layout 25. ไม่ใส่ราคา การไม่ใส่ราคาในเว็บไซต์ขายของ หรือแนะนำสินค้า อาจเป็นกลยุทธ์ของผู้ขาย แต่สิ่งนี้ใช้ไม่ได้ในโลกของอินเทอร์เนตอย่างแน่นอน เพราะถ้าเว็บไซต์ของคุณไม่บอกก็ต้องมีเว็บไซต์อื่นที่สามารถบอกราคาได้ และลูกค้าที่เคยจะเป็นของคุณก็จะเป็นของคนอื่นแทน ดังนั้นเราจึงควรใส่รายละเอียดต่างๆของสินค้าให้ครบถ้วน ถูกต้องตามข้อมูลที่เรามีทั้งหมด ที่กล่าวมาคือสิ่งที่ไม่ควรมีในเว็บไซต์ของเรา ซึ่งยังมีรายละเอียดอีกมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างเช่น ไม่ควรใช้ popup , หรือการขีดเส้นใต้ตัวอักษรที่ไม่ใช่ลิงค์ ที่จะนำเสนอในบทความอื่นๆต่อไป

Domain name

Domain name

เปรียบเสมือนชื่อของเรา เป็นชื่อที่ใช้อ้างอิงมาที่เว็บไซต์ของเรา ดังนั้นจึงมีความสำคัญมาก การเลือก domain name ที่ดีจะเป็นส่วนช่วยให้เว็บไซต์ของเรามีชื่อเสียงได้ง่ายขึ้น
ข้อแนะนำในการเลือก domain name มีดังนี้ 1। ควรเป็นชื่อที่จำได้ง่าย สะกดได้ง่าย จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถกลับมาใช้งานเว็บของเราได้ ไม่ควรใช้คำไทยที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษเพราะนอกจากจะสะกดได้ยากแล้ว ยังมีโอกาศสะกดผิดพลาดได้ง่ายอีกด้วย นอกจากจะเป็นคำที่สะกดได้ง่าย เช่น สนุก (sanook) , กระปุก (kapook) เป็นต้น 2। ควรเป็นชื่อที่สั้น คือไม่ควรเกิน 10 ตัวอักษร จะสามารถทำได้จำได้ง่ายขึ้น และยังลดการสะกดชื่อผิดได้ ผู้ใช้งานเว็บไซต์นั้นชอบที่จะพิมพ์ชื่อเว็บที่สั้นมากกว่าชื่อเว็บที่ยาวมากแน่นอน 3। ควรจดโดยใช้ .com ในปัจจุบันมีหลายชื่อให้เลือกมากเช่น .net , .org , .info , .firm แต่ชื่อที่นิยมใช้มากที่สุดคือ .com ผู้ใช้งานจะคุ้นเคยกับ .com มากกว่า และในกรณีที่ผู้ใช้งานจำ domain name เราไม่ได้ก็มีโอกาศสูงที่เค้าจะใช้ชื่อ .com ก่อน 4. ควรเป็นชื่อที่เป็นสากล การใช้ชื่อที่เป็นสากลรู้จักกันโดยทั่วไป ไม่ควรใช้คำเฉพาะที่รู้จักกันคนในพื้นที่รู้จักเท่านั้น จะทำให้เว็บไซต์เราสามารถรองรับผู้ใช้งานจากพื้นที่อื่นได้ 5. ควรเป็นชื่อที่ง่ายในการออกเสียง การออกเสียงได้ง่ายจะทำให้จำได้ง่ายขึ้น และสะกดได้ง่ายขึ้นด้วย จะเห็นได้ว่าเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันสามารถออกเสียงได้ง่ายมาก เช่น google , yahoo , sanook เป็นต้น 6. ควรเป็นชื่อที่มีตัวอักษรเท่านั้น ในปัจจุบันเราสามารถใส่สัญลักษณ์ (-) hyphen และตัวเลขใน domain name ได้ แต่การใส่สัญลักษณ์และตัวเลขนั้นจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการพิมพ์ชื่อ domain name ได้ง่ายขึ้นเพราะจะไม่สัมพันธ์กับการออกเสียง 7. ควรใช้ชื่อเว็บไซต์ที่มีตัวอักษรซ้ำกัน อีกข้อแนะนำหนึ่งก็คือใช้ตัวอักษรซ้ำกันใน domain name จะทำให้การออกเสียงง่ายขึ้นและจดจำง่ายขึ้น หลายเว็บไซต์ดังๆก็ใช้หลักการนี้เช่น google , badoo , badongo 8. ควรเป็นชื่อที่เกี่ยวกับเนื้อหาของเว็บไซต์ เพราะจะทำให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์รู้เนื้อหาของเว็บไซต์ได้ทันทีจากชื่อของเว็บไซต์ เช่นถ้าคุณขายเครื่องประดับอาจใช้ชื่อ jewelley.com 9. ควรมี keyword ที่เกี่ยวข้อกับเว็บไซต์ keyword ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเราจะมีผลอย่างยิ่ง ต่อลำดับการค้นหาของ search engine ต่างๆ เช่นถ้าคุณค้นหาคำว่า game ใน search engine ลำดับต้นๆของผลลัพธ์ที่แสดงออกมานั้น ใน domain name จะมีคำว่า game อยู่ด้วย 10. ควรใช้ยี่ห้อสินค้าของตัวเองเป็น domain name ในกรณีนี้เราเห็นตัวอย่างมากมายเช่น nike.com แม้แต่การทั้งการใช้คำขวัญที่คิดขึ้นมาเช่น justdoit.com ก็ใช้เป็น domain name เพื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ของ nike เช่นเดียวกัน แน่นอนว่ายี่ห้อต่างๆที่มีชื่อเสียงอยู่ในปัจจุบันนั้นก็มาจากชื่อที่ไม่ดังมาก่อน ดังนั้นเราควรที่จะสร้างยี่ห้อเป็นของตัวเองไม่ควรใช้คำพ้องกับยี่ห้อที่มีอยู่แล้ว ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงข้อแนะนำสำหรับการเลือกชื่อ domain name ของเราเท่านั้น เราไม่จำเป็นต้องใช้ข้อแนะนำทั้งหมด เพราะจริงๆแล้วคงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากตอนนี้มีธุระกิจขายชื่อโดเมนเนม ทำให้ชื่อดีๆถูกซื้อไปกักตุนเอาไว้เพื่อขายต่อในราคาแพง ทำให้ชื่อดีๆลดน้อยลง เมื่อเราคิดชื่ออะไรได้ที่ยังไม่ซ้ำกับคนอื่น ก็ควรรีบจดก่อนที่คนอื่นจะแย่งคุณไป Domain name เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เว็บไซต์มีชื่อเสียงได้ง่ายขึ้น สุดท้ายแล้วสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ เนื้อหาของเว็บไซต์นั่นเอง ถ้าเนื้อหาของเว็บไซต์เราดี ยังไงเว็บของเราก็ต้องเป็นที่นิยมอย่างแน่นอน

หากท่านเป็นมือใหม่ที่กำลังมองหาวิธีโปรโมทเว็บ โดยสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงเกิน และคุ้มค่าในระยะยาว เห็นทีท่านจะต้องทำความรู้จักกับ SEO กันเสียแล้วหละครับ
SEO ย่อมาจากคำว่า Search Engine Optimization แปลเป็นไทยว่าการปรับปรุงองค์ประกอบทั้งภายนอก และภายในที่ผลต่อเว็บไซต์ ให้ได้มาซึ่งอันดับที่ดีใน Search Engine ซึ่ง Search Engine ที่คนไทยนิยมใช้และเป็นที่รู้จักกันดีเห็นจะมีอยู่สองเจ้าคือ

1. Google Search 2। Yahoo Search

ในแต่ละวันมีคนเข้าใช้บริการ Search Engine เพื่อค้นหาข้อมูลหลายล้านครั้งต่อวัน จึงทำให้เว็บไซต์จำนวนมากพยายามนำ Search Engine เข้ามาใช้ในการทำการตลาด ซึ่งหนึ่งในวิธีการนั้นก็คือการทำSEO กับเว็บไซต์ของบริษัท หรือร้านค้า เพื่อให้ผู้ใ้ช้งาน Search Engine เห็นเว็บไซต์ของเรา และมีโอกาสขายสินค้า หรือบริการได้มากขึ้น

Yahoo Index หลังจากทำ SEO เพียง 8 วัน


หลังจากที่บทความก่อนหน้าผมได้เขียนถึงขั้นแรกของการทำ SEO กับ Yahoo ไว้เมื่อ 10 วันก่อน มาวันนี้ผมได้มีโอกาสมารายงานผลให้ท่านได้รู้กันว่าการ Submit Website เข้าสู่ระบบของ Yahoo สามารถช่วยให้เว็บเรามีตัวตนอยู่ในระบบจริง
ภาพข้างต้นเป็นผลการค้นหาของคำว่า “http://www.seounlock.com” ในระบบของ Yahoo เพื่อตรวจสอบจำนวนหน้าของเว็บไซต์ที่ถูกเก็บลงฐานข้อมูลเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งจะเห็นว่ามีหน้าที่ถูกเก็บแล้วจำนวน 4 หน้า ซึ่งหมายความว่า หากมีคนค้นหาข้อมูลใน Yahoo Search Engine เว็บแห่งนี้ก็มีโอกาสที่จะมีผู้พบเห็นนั่นเอง
เห็นไหมครับเพียงแค่เราทำ SEO เพียงเล็กน้อย ก็จะช่วยให้ Search Engine รู้จักเว็บเราได้ดีมากขึ้น เว็บทีเ่กิดขึ้นมาใหม่อย่าง seounlock.com ถูกเก็บเข้าไปอยู่ในฐานข้อมูลของทาง Yahoo ภายใน 8 วัน ด้วยวิธีการ Submit Website เพียงอย่างเดียว ที่เหลือก็คือการทำ SEO กับ Yahoo เพื่อให้เว็บแห่งนี้มีอันดับที่ดีขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินกว่าเราจะทำได้ ..

วิธีทำ SEO กับการเก็บสถิติ

สิ่งที่ผมพยามจะบอกคือ การเก็บสถิติ หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเว็บเราใน Search Engine อย่าง Google หรือ Yahoo มีความสำคัญมากในการทำ SEO (Search Engine Optimization) เพราะทุกครั้งที่เรามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหน้าเว็บ หรือมีการทำลิงค์เข้าหาบทความ อาจจะส่งผลต่อการจัดอันดับ และหากเราไม่คอยสังเกตุว่าเราได้ทำอะไรไปบ้าง เมื่อเว็บเราอันดับดีขึ้น หรือตกลงเราก็จะไม่ทราบเลยว่าเหตุผลใดเว็บถึงได้เปลี่ยนอันดับ
มีหลายท่านถามผมว่า “ทำไมอยู่ดีๆ เว็บหายไปจากหน้า Google เลย” ผมก็ถามกลับไปว่าเขาได้ทำอะไรกับเว็บบ้างในช่วง 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา แต่ผมได้คำตอบที่น่าตกใจคือ “ผมไม่รู้เหมือนกันครับ.. ผมเปลี่ยนหลายอย่างมากจนจำไม่ได้ว่าเปลี่ยนอะไรบ้าง แถมหาลิงค์เข้าเว็บจากหลายที่” นี่หละครับปัญหา เพราะว่าการทำการปรับปรุงอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกันโดยไม่ดูสถิติที่เกิดขึ้นจะทำให้เราไม่ทราบถึงสาเหตุที่มาที่ไป หากลองมองในมุมกลับ ถ้าเพื่อนคนนี้เขามีการปรับแต่งทีละเล็ก ละน้อย มีการตรวจสอบเสมอว่าอันดับมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และอยู่มาวันนึงอันดับหล่นลงไปแบบผิดหูผิดตา ก็พอจะเดาได้ว่าสาเหตุที่ทำให้อันดับเปลี่ยนน่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงในตอนหลังๆ เพราะก่อนหน้านี้ทำอันดับดีขึ้นมาตลอด
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการเก็บสถิติ และดูการเปลี่ยนแปลงของอันดับจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการทำ SEO แบบมืออาชีพ เครื่องมือที่จะช่วยในการดูสถิติต่างๆ ในปัจจุบันก็มีให้เลือกใช้อย่างมากมาย ทั้งที่เป็นแบบเสียเงิน และแบบฟรี หรือหากจะเอาใจ Google หน่อยก็ลองใช้งาน Google Analytics ดูครับ เพราะว่าขั้นตอนการใช้งานไม่ยุ่งยาก แถมการเก็บข้อมูลค่อนข้างละเอียด

Keyword

รู้ตัวหรือยังว่าเราจะทำ SEO ไปเพื่ออะไร?

ก่อนจะเริ่มทำเราต้องรู้ตัวเราเองก่อนว่า ที่เราจะลงทุน ลงแรงไปนั้น จุดประสงค์หลักของเราคืออะไร คำว่าผู้เยี่ยมชมเว็บ (Vistors) นั้นมันดูจะกว้างเกินไปสำหรับเรา หากกำลังจะทำเว็บขายของ แน่นอนว่าเราจะต้องการผู้เยี่ยมชมที่มีความต้องการจะซื้อ ไม่ใช่ผู้เยี่ยมชมต้องการจะขาย
ค้นหา Keyword ที่กลุ่มเป้าหมายนั้นนิยมใช้ในการค้นหา

ขั้นต่อมาก็คือ การค้นหา Keyword ที่กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการใช้ค้นหาเป็นประจำ ซึ่งคำเหล่านั้นมักจะเป็นคำที่เราคุ้นหู คุ้นปากกันอยู่แล้ว แต่ก็ไม่แน่ว่าอาจจะเป็นคำที่คนใช้เฉพาะบนอินเทอร์เน็ตก็เป็นได้
คัดกรอง Keyword ให้เหลือคำที่เหมาะกับการทำ सो

จากประสบการณ์โดยตรง โดยมาก Keyword หรือคำค้นที่เราได้มานั้นจะมีจำนวนมากมายมหาศาล ยิ่งหากใครใช้เครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา Keyword อาจจะได้ Keyword มาเป็นหลักพัน หลักหมื่น ซึ่งอาจจะมากเกินไป ดังนั้นเราควรจะคัดกรอง Keyword ที่ไม่จำเป็น หรือว่าไม่คุ้มแก่การลงทุนออกไปให้มากที่สุด โดยยึดความเหมาะสมกับแรงเงิน และแรงงานที่เรามีพอจะลงทุน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Keyword ที่จัดอยู่ในกลุ่มไม่จำเป็น หรือว่าไม่คุ้มแก่การลงทุนจะอยู่ในกลุ่มต่อไปนี้

1। Keyword ที่มีคู่แข่งจำนวนมาก
2। Keyword ที่มีความกำกวม หรืออาจจะได้ผู้เยี่ยมชมที่ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายนัก
3। Keyword ที่หน้าผลการค้นหาเต็มไปด้วยคู่แข่งที่มีความน่าเชื่อถือสูงกว่าเรามากนัก

เพียงเท่านี้เราก็จะได้ชุด Keyword ที่เหมาะสมกับการทำ SEO แล้วหละครับ ผมเชื่อว่าก้าวแรกถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญที่สุดในการเริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง ยังโชคดีที่ท่านได้มาอ่านบทความนี้ก่อนที่จะลงทุนทำ SEO แบบมือคลำ